ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์
1. กำหนดเป้าหมายและวางแผนงาน
ก่อนที่เราจะลงมือสร้างเว็บไซต์ของตัวเองนั้น
ควรมีการกำหนดเป้าหมาย และวางแผนงานก่อน
เพื่อให้เห็นภาพลักษณะเว็บไซต์ที่เราอยากจะทำได้ชัดเจนขึ้น
สิ่งที่เราต้องทำในขั้นตอนนี้มีอะไรบ้าง
1.1 กำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์
1.1 กำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์
1.1.1 ทำไมคุณอยากจะมีเว็บไซต์ มีเป้าหมายอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า ?
เพื่อประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร, แบ่งปันความรู้, ทำธุรกิจออนไลน์ ขายสินค้าหรือบริการ, เป็น community กับเพื่อนและครอบครัว …
เพื่อประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร, แบ่งปันความรู้, ทำธุรกิจออนไลน์ ขายสินค้าหรือบริการ, เป็น community กับเพื่อนและครอบครัว …
ถ้าคุณคาดหวังจะสร้างรายได้จากเว็บไซต์
enjoyday.net จะไม่ได้เน้นในเรื่องนี้ คุณสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์อื่นๆ ที่มีให้อ่านมากมายค่ะ
1.1.2 อยากทำเว็บไซต์เกี่ยวกับเรื่องอะไร ?
ถ้าอยากทำเว็บไซต์ แต่ยังไม่รู้จะทำเรื่องอะไรดี แนะนำให้ทำเรื่องที่เรามีความรู้มีความชำนาญ หรือมีความสนใจในเรื่องนั้นๆ เป็นพิเศษ จะทำให้เราทำเนื้อหาของเว็บไซต์ได้ดี ทำเสร็จก็ได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ เพิ่มขึ้นด้วย
ถ้าอยากทำเว็บไซต์ แต่ยังไม่รู้จะทำเรื่องอะไรดี แนะนำให้ทำเรื่องที่เรามีความรู้มีความชำนาญ หรือมีความสนใจในเรื่องนั้นๆ เป็นพิเศษ จะทำให้เราทำเนื้อหาของเว็บไซต์ได้ดี ทำเสร็จก็ได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆ เพิ่มขึ้นด้วย
1.1.3 อยากให้เว็บไซต์มีลักษณะเป็นอย่างไร?
- เป็น website ที่รวบรวมความรู้และเป็นแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ บันเทิง กีฬา หรือเป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าหรือบริการต่างๆ
ตัวอย่าง เว็บไซต์ต่างๆ
http://thai.tourismthailand.org (เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
http://www.loveyoueveryday.com (เว็บร้านขายดอกไม้ ตุ๊กตา ของขวัญ ออนไลน์)
http://www.dhammajak.net (เว็บธรรมะออนไลน์)
- เป็น web blog ที่มีลักษณะเป็นการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงในเว็บไซต์ เนื้อหาของ blog ครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้คนอ่าน สามารถ comment ข้อความต่อท้ายในเรื่องที่เรา post ได้
ถ้าอยากจะมี blog สามารถสมัครใช้งานฟรีได้จากผู้ให้บริการฟรี Blog ได้แก่
http://www.exteen.com (ของไทย)
http://www.bloggang.com (ของไทย)
https://www.blogger.com
http://www.myspace.com
http://www.livejournal.com
http://wordpress.com
ตัวอย่าง web blog ที่ใช้บริการ blogger.com
http://promote-web.blogspot.com
หรือถ้าอยากมี Blog เป็นของตัวเอง ก็สามารถทำเองได้ โดยใช้ติดตั้งระบบจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ ประเภท Blog เช่น WordPress เหมือนกับที่ enjoyday.net แห่งนี้ค่ะ
- เป็น webboard เป็นกระดานข่าว สามารถตั้งกระทู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ได้ หรือจะให้ webboard เป็นส่วนหนึ่งใน website ของคุณก็ได้ค่ะ
ตัวอย่าง
http://www.thaiseoboard.com
1.2 กำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย
- เป็น website ที่รวบรวมความรู้และเป็นแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ บันเทิง กีฬา หรือเป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าหรือบริการต่างๆ
ตัวอย่าง เว็บไซต์ต่างๆ
http://thai.tourismthailand.org (เว็บการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
http://www.loveyoueveryday.com (เว็บร้านขายดอกไม้ ตุ๊กตา ของขวัญ ออนไลน์)
http://www.dhammajak.net (เว็บธรรมะออนไลน์)
- เป็น web blog ที่มีลักษณะเป็นการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงในเว็บไซต์ เนื้อหาของ blog ครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้คนอ่าน สามารถ comment ข้อความต่อท้ายในเรื่องที่เรา post ได้
ถ้าอยากจะมี blog สามารถสมัครใช้งานฟรีได้จากผู้ให้บริการฟรี Blog ได้แก่
http://www.exteen.com (ของไทย)
http://www.bloggang.com (ของไทย)
https://www.blogger.com
http://www.myspace.com
http://www.livejournal.com
http://wordpress.com
ตัวอย่าง web blog ที่ใช้บริการ blogger.com
http://promote-web.blogspot.com
หรือถ้าอยากมี Blog เป็นของตัวเอง ก็สามารถทำเองได้ โดยใช้ติดตั้งระบบจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ ประเภท Blog เช่น WordPress เหมือนกับที่ enjoyday.net แห่งนี้ค่ะ
- เป็น webboard เป็นกระดานข่าว สามารถตั้งกระทู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ได้ หรือจะให้ webboard เป็นส่วนหนึ่งใน website ของคุณก็ได้ค่ะ
ตัวอย่าง
http://www.thaiseoboard.com
1.2 กำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย
1.2.1 ผู้ชมกลุ่มไหนที่เราคาดหวังให้มาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ?
เราควรทราบว่ากลุ่มผู้ชมของเว็บไซต์เป็นใคร เพื่อจะได้ออกแบบเว็บไซต์ เลือกเนื้อหา โทนสี กราฟฟิก และเทคโนโลยีที่นำมาสนับสนุน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น
ถ้าผู้ชมเป็นกลุ่มวัยรุ่น ก็ควรจะออกแบบให้มีสีสันสดใส ใช้ภาพกราฟฟิกดึงดูดให้น่าสนใจ
ถ้าผู้ชมเป็นกลุ่มผู้ที่สนใจธรรมะ ก็ควรออกแบบให้ดูเรียบง่าย ถ้าฉูดฉาดเกินไป คงรู้สึกขัดๆ
เราควรทราบว่ากลุ่มผู้ชมของเว็บไซต์เป็นใคร เพื่อจะได้ออกแบบเว็บไซต์ เลือกเนื้อหา โทนสี กราฟฟิก และเทคโนโลยีที่นำมาสนับสนุน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น
ถ้าผู้ชมเป็นกลุ่มวัยรุ่น ก็ควรจะออกแบบให้มีสีสันสดใส ใช้ภาพกราฟฟิกดึงดูดให้น่าสนใจ
ถ้าผู้ชมเป็นกลุ่มผู้ที่สนใจธรรมะ ก็ควรออกแบบให้ดูเรียบง่าย ถ้าฉูดฉาดเกินไป คงรู้สึกขัดๆ
1.2.2 อยากให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมได้รับอะไรกลับไป
ข้อมูล ข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิง ของแจกฟรี เป็นต้น แต่ถ้าเป็นเว็บขายสินค้าหรือบริการ ต้องคิดว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการอะไร
ข้อมูล ข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิง ของแจกฟรี เป็นต้น แต่ถ้าเป็นเว็บขายสินค้าหรือบริการ ต้องคิดว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการอะไร
1.2.3 อยากให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมทำอะไรหลังจากมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ?
ต้องการให้กลับมาเยี่ยมเว็บไซต์ของคุณอีก ให้สั่งซื้อสินค้าหรือบริการในเว็บไซต์ เป็นต้น
1.3 กำหนดขอบเขตเนื้อหา และรวบรวมข้อมูลเนื้อหา
เกี่ยวกับเรื่องที่คุณอยากทำเว็บไซต์ ให้ลิสต์ว่ามีข้อมูลเนื้อหาอะไรบ้างที่คุณอยากให้มี หรือควรจะมี อยู่ในเว็บไซต์ มีการใช้งานที่จำเป็นอะไรบ้าง เช่น webboard, chat, ระบบสมาชิก, ระบบตระกร้าซื้อของ เป็นต้น
ลองเข้าไปดูเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทำเรื่องเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเรื่องที่คุณอยากจะทำ เพื่อดูเป็นแนวทาง
นอกจากเนื้อหาหลักของเว็บไซต์ เช่น ข้อมูลข่าวสาร, รายละเอียดสินค้าหรือบริการ, วิธีซื้อสินค้า แล้ว ควรเพิ่มเติม
- หน้าข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท องค์กร หรือผู้จัดทำ (About us) : บอกเจ้าของเว็บไซต์, วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์, ประวัติความเป็นมา เป็นต้น
- หน้าข้อมูลในการติดต่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ แผนที่ (Contact Information) : ส่วนนี้จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์
- เพิ่มเติมเกี่ยวกับส่วนค้นหาข้อมูล, แผนผังเว็บไซต์ (Sitemap) : เพื่อช่วยให้ผู้ชมค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
- หน้ารับข้อเสนอแนะ (Feedback) : เพื่อนำไปปรับปรุงเว็บไซต์ สินค้า หรือการให้บริการ
- คำถามที่ถูกถามบ่อย (FAQ – Frequently Asked Questions) : รวบรวมคำถามที่ผู้ชมมักจะถามบ่อยๆ ไว้ เพื่อประหยัดเวลาทั้งคนถาม-คนตอบ
ต้องการให้กลับมาเยี่ยมเว็บไซต์ของคุณอีก ให้สั่งซื้อสินค้าหรือบริการในเว็บไซต์ เป็นต้น
1.3 กำหนดขอบเขตเนื้อหา และรวบรวมข้อมูลเนื้อหา
เกี่ยวกับเรื่องที่คุณอยากทำเว็บไซต์ ให้ลิสต์ว่ามีข้อมูลเนื้อหาอะไรบ้างที่คุณอยากให้มี หรือควรจะมี อยู่ในเว็บไซต์ มีการใช้งานที่จำเป็นอะไรบ้าง เช่น webboard, chat, ระบบสมาชิก, ระบบตระกร้าซื้อของ เป็นต้น
ลองเข้าไปดูเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทำเรื่องเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเรื่องที่คุณอยากจะทำ เพื่อดูเป็นแนวทาง
นอกจากเนื้อหาหลักของเว็บไซต์ เช่น ข้อมูลข่าวสาร, รายละเอียดสินค้าหรือบริการ, วิธีซื้อสินค้า แล้ว ควรเพิ่มเติม
- หน้าข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท องค์กร หรือผู้จัดทำ (About us) : บอกเจ้าของเว็บไซต์, วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์, ประวัติความเป็นมา เป็นต้น
- หน้าข้อมูลในการติดต่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ แผนที่ (Contact Information) : ส่วนนี้จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์
- เพิ่มเติมเกี่ยวกับส่วนค้นหาข้อมูล, แผนผังเว็บไซต์ (Sitemap) : เพื่อช่วยให้ผู้ชมค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
- หน้ารับข้อเสนอแนะ (Feedback) : เพื่อนำไปปรับปรุงเว็บไซต์ สินค้า หรือการให้บริการ
- คำถามที่ถูกถามบ่อย (FAQ – Frequently Asked Questions) : รวบรวมคำถามที่ผู้ชมมักจะถามบ่อยๆ ไว้ เพื่อประหยัดเวลาทั้งคนถาม-คนตอบ
เมื่อกำหนดขอบเขตเนื้อหาเสร็จแล้ว
ให้วางแผนต่อว่าข้อมูลมาจากแหล่งใดได้บ้าง จะจัดเตรียมได้อย่างไร เช่น
เป็นข้อมูลที่เราคิดและนำเสนอเอง หรือนำข้อมูลมาจากสื่ออื่น เช่น หนังสือ
หนังสือพิมพ์ แมกกาซีน เว็บไซต์ ดูด้วยว่าจะต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนหรือเปล่า
เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์
จากนั้นก็รวบรวมข้อมูลเนื้อหา, ไฟล์รูปภาพ, ไฟล์เสียง
หรือไฟล์ดีวีโอ และอื่นๆ ที่จะใช้ในเว็บไซต์เตรียมไว้
ตัวอย่าง ถ้าอยากจะทำเว็บไซต์สอนทำอาหารไทย
ก็ให้ลิสต์รายการอาหารที่เราอยากแนะนำวิธีการทำ
ซึ่งเนื้อหาหลักของเว็บสอนทำอาหารที่จะต้องมี คือ อุปกรณ์ที่ใช้, วัตถุดิบ เครื่องปรุง และวิธีการทำอาหาร
แล้วถ้าจะให้ละเอียด
และเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น ก็แนะนำวิธีการเลือกวัตถุดิบ, ร้านค้าที่ขายวัตถุดิบ, เทคนิคการทำอาหาร
เป็นต้นที่สำคัญ คือ รูปภาพประกอบ เช่น
รูปภาพเครื่องปรุง, รูปภาพขณะทำอาหาร
และรูปภาพอาหารที่ทำเสร็จแล้ว จะทำให้เว็บเราดูมีสีสัน น่าสนใจมากขึ้น
แล้วถ้าทำเป็นวีดีโอสอนดูผ่านเว็บได้ ยิ่งเลิศใหญ่เลยค่ะ ^^
เพิ่ม
webboard ให้ผู้ที่เยี่ยมชมเข้ามาถาม-ตอบ
แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการทำอาหารกันและถ้าจะทำธุรกิจออนไลน์
ขายอุปกรณ์ และเครื่องปรุง วัตถุดิบ ในการทำอาหารบนเว็บไซต์ด้วย
ก็ต้องมีหน้ารายละเอียดสินค้า วิธีการสั่งซื้อ วิธีการชำระ เป็นต้น
เมื่อกำหนดขอบเขตเนื้อหาได้แล้ว
ก็รวบรวมข้อมูลต่างๆ เช่น วิธีทำอาหาร, รูปภาพอาหาร ถ้าข้อมูลที่มีอยู่ยังมีไม่ครบถ้วน ให้จัดเตรียมให้เรียบร้อย
เช่น ถ้ายังไม่มีรูปภาพ ก็หาสแกนเพิ่ม หรือถ่ายรูปเพิ่ม เป็นต้น
1.4 เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็น
1.4 เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็น
จัดเตรียมอุปกรณ์
หรือเครื่องมือช่วยงาน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล
จัดหาโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ เช่น
- โปรแกรมสำหรับพัฒนาเขียนเว็บเพจ เช่น EditPlus , Adobe Dreamweaver
- โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ เช่น Adobe Photoshop และ ImageReady
- โปรแกรม FTP สำหรับ upload file จากเครื่องคอมพิวเตอร์เราไปเครื่อง Server (เช่น WS_FTP, FileZilla สามารถหา download มาใช้ได้ฟรี)
- โปรแกรมอื่นๆ เช่น SnagIT สำหรับ Capture รูปภาพหน้าจอ ทำให้สะดวกเวลาเราต้องการ Capture รูปภาพ เพื่อแนะนำการใช้งานโปรแกรม หรืออื่นๆ
2. เลือก Web hosting และจด Domain name
จัดหาโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ เช่น
- โปรแกรมสำหรับพัฒนาเขียนเว็บเพจ เช่น EditPlus , Adobe Dreamweaver
- โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ เช่น Adobe Photoshop และ ImageReady
- โปรแกรม FTP สำหรับ upload file จากเครื่องคอมพิวเตอร์เราไปเครื่อง Server (เช่น WS_FTP, FileZilla สามารถหา download มาใช้ได้ฟรี)
- โปรแกรมอื่นๆ เช่น SnagIT สำหรับ Capture รูปภาพหน้าจอ ทำให้สะดวกเวลาเราต้องการ Capture รูปภาพ เพื่อแนะนำการใช้งานโปรแกรม หรืออื่นๆ
2. เลือก Web hosting และจด Domain name
ถ้าคุณเลือกใช้บริการฟรี
Web hosting จะข้ามหัวข้อนี้ไปก็ได้
ในการสร้างเว็บไซต์คุณสามารถที่จะทำบนเครื่องตัวเองก่อน ยังไม่ต้องมีพื้นที่บน host
จริงๆ ก็ได้ค่ะ เมื่อทำเสร็จและอยากนำเสนอให้คนอื่นได้ยลโฉม
ค่อยไปจด Domain name และเช่า host ทีหลัง
จากนั้น upload ไฟล์เว็บไซต์ของเราขึ้นไปยัง host ที่ให้บริการ คนอื่นๆ ก็จะเห็นเว็บไซต์ของเราแล้วค่ะ
แต่ถ้าคุณจะทำเว็บไซต์หรือ
Blog โดยใช้ Software Open Source เว็บไซต์สำเร็จรูป (Web CMS) อย่าง Joomla,
WordPress หรือตัวอื่นๆ แล้ว กรณีนี้จะต้องเช่า
host และจด Domain name ให้เรียบร้อยก่อน
เพื่อที่คุณจะได้ติดตั้งระบบจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ หรือ Blog
ลงไปบนพื้นที่ host ที่เราเช่าไว้สำหรับฝากข้อมูลเว็บไซต์
หลังจากติดตั้งแล้ว
คุณจึงจะสามารถที่จะเข้าสู่ระบบเพื่อไปจัดการเนื้อหาเว็บไซต์, เขียนบทความใน Blog ได้ทุกที่
ทุกเวลาที่คุณสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้
และอาจไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องการเขียนเว็บเพจอื่นๆ อีก แต่ต้องเรียนรู้เรื่องการใช้งานของระบบเว็บไซต์สำเร็จรูปที่เราเลือกใช้
ตลอดจนการตกแต่งหน้าตาเว็บไซต์ หรือ Blog ด้วยการเปลี่ยน Template
หรือ Theme ใหม่ รวมถึงการเพิ่มเติมความสามารถหลักให้กับระบบ
ด้วยการติดตั้ง Module หรือ Plugin ค่ะ
2.1 Web
hosting คือ การให้บริการเช่าพื้นที่ หรือ
รับฝากข้อมูลของเว็บไซต์เรา บนเครื่อง Web server ของผู้ให้บริการ
ทำไมเราต้องเช่าพื้นที่ด้วยล่ะ?
เว็บไซต์ที่เผยแพร่อยู่บนอินเตอร์เน็ตนั้น จะต้องได้รับการฝากไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า Web server จะทำหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้บริการกับผู้ที่ร้องขอใช้บริการ เช่น เมื่อเราต้องเรียกดู website enjoyday.net เมื่อไหร่ ที่ไหน ก็ตาม เพียงแต่เปิดโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ เช่น IE หรือ Firefox แล้วพิมพ์ชื่อ website ลงไป ก็จะสามารถเรียกดูข้อมูลบนเครื่อง Web server ได้ทันที
แทนที่เราจะลงทุน ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาทำ Web server เพื่อเอาไว้เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเราเองคนเดียว ซึ่งจะต้องลงทุนเป็นหลักแสนบาทขึ้นไป เราก็ติดต่อหาผู้ให้บริการทางด้านนี้ที่เรียกว่า Web Hosting Service Provider ที่มีความชำนาญมากกว่าเรามาดูแลให้จะดีกว่าค่ะ
ผู้ให้บริการ Web hosting จะจัดหาเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับงานสร้างเว็บไซต์ทั้งทางด้าน Hardware, Software และบุคลากร มาให้บริการกับเรา ผู้ใช้บริการไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดการระบบ Web Server แต่อย่างใด
ผู้ให้บริการจะดำเนินการและรับผิดชอบทั้งหมด ตั้งแต่การติดตั้งระบบ จนกระทั่งการดูแลรักษาระบบให้กับเรา ตลอดระยะเวลาที่เราฝากข้อมูลเว็บไซต์เอาไว้ผู้ให้บริการจะคิดค่าบริการ จากการเช่าพื้นที่ ที่เราจะเอาไว้เก็บข้อมูลเว็บไซต์, ฐานข้อมูล, email, รายละเอียดเกี่ยวกับสถิติผู้เข้าชม ฯลฯ
ทำไมเราต้องเช่าพื้นที่ด้วยล่ะ?
เว็บไซต์ที่เผยแพร่อยู่บนอินเตอร์เน็ตนั้น จะต้องได้รับการฝากไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า Web server จะทำหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้บริการกับผู้ที่ร้องขอใช้บริการ เช่น เมื่อเราต้องเรียกดู website enjoyday.net เมื่อไหร่ ที่ไหน ก็ตาม เพียงแต่เปิดโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ เช่น IE หรือ Firefox แล้วพิมพ์ชื่อ website ลงไป ก็จะสามารถเรียกดูข้อมูลบนเครื่อง Web server ได้ทันที
แทนที่เราจะลงทุน ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาทำ Web server เพื่อเอาไว้เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเราเองคนเดียว ซึ่งจะต้องลงทุนเป็นหลักแสนบาทขึ้นไป เราก็ติดต่อหาผู้ให้บริการทางด้านนี้ที่เรียกว่า Web Hosting Service Provider ที่มีความชำนาญมากกว่าเรามาดูแลให้จะดีกว่าค่ะ
ผู้ให้บริการ Web hosting จะจัดหาเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับงานสร้างเว็บไซต์ทั้งทางด้าน Hardware, Software และบุคลากร มาให้บริการกับเรา ผู้ใช้บริการไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดการระบบ Web Server แต่อย่างใด
ผู้ให้บริการจะดำเนินการและรับผิดชอบทั้งหมด ตั้งแต่การติดตั้งระบบ จนกระทั่งการดูแลรักษาระบบให้กับเรา ตลอดระยะเวลาที่เราฝากข้อมูลเว็บไซต์เอาไว้ผู้ให้บริการจะคิดค่าบริการ จากการเช่าพื้นที่ ที่เราจะเอาไว้เก็บข้อมูลเว็บไซต์, ฐานข้อมูล, email, รายละเอียดเกี่ยวกับสถิติผู้เข้าชม ฯลฯ
2.2 หลักการเลือก Web Hosting
ให้เริ่มต้นจากการพิจารณาความต้องการของเว็บไซต์เราก่อน
1. กลุ่มผู้ชมเว็บไซต์เป็นใคร อยู่ในประเทศหรือต่างประเทศ หากเป็นผู้ชมในประเทศ ก็ควรเลือก Hosting ที่ตั้งอยู่ในประเทศ แต่หากเป็นผู้ชมในต่างประเทศ ก็ควรเลือก Hosting ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ชมเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว
2. เว็บไซต์ของเราประกอบด้วยข้อมูลมากน้อยแค่ไหน ถ้าต้องเก็บรูปภาพ ไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ จำนวนมาก หรือให้บริการดาวน์โหลด ก็จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก และ ปริมาณรับส่งข้อมูล Data Transfer (Bandwidth) ก็อาจจะมากตาม
3. เว็บไซต์มีการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล เช่น webboard, blog หรือไม่ แล้วจะใช้ภาษา Server Side Script ตัวไหนในการเขียนโปรแกรม เช่น Perl, ASP, ASP.NET,PHP, JSP Web Hosting ส่วนใหญ่จะสนับสนุน PHP อยู่แล้ว (Linux Server) แต่อาจจะไม่สนับสนุน ASP, ASP.NET และค่าเช่า Host ที่สนับสนุน ASP (Windows Server) จะสูงกว่า และให้ดูด้วยว่าจำเป็นต้องใช้ฐานข้อมูลกี่ฐาน เพราะ Web hosting หลายเจ้าจะจำกัดจำนวนฐานข้อมูลที่ใช้ได้เอาไว้
4. คิดว่าจะมีผู้ชมเข้ามาก เข้าบ่อย หรือเปล่า เผื่อให้ Bandwidth เยอะๆ ไว้ก่อนก็ดีค่ะ
5. ต้องการใช้บริการ E-mail หรือไม่ และต้องการใช้ประมาณกี่ account
ให้เริ่มต้นจากการพิจารณาความต้องการของเว็บไซต์เราก่อน
1. กลุ่มผู้ชมเว็บไซต์เป็นใคร อยู่ในประเทศหรือต่างประเทศ หากเป็นผู้ชมในประเทศ ก็ควรเลือก Hosting ที่ตั้งอยู่ในประเทศ แต่หากเป็นผู้ชมในต่างประเทศ ก็ควรเลือก Hosting ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ชมเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว
2. เว็บไซต์ของเราประกอบด้วยข้อมูลมากน้อยแค่ไหน ถ้าต้องเก็บรูปภาพ ไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ จำนวนมาก หรือให้บริการดาวน์โหลด ก็จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก และ ปริมาณรับส่งข้อมูล Data Transfer (Bandwidth) ก็อาจจะมากตาม
3. เว็บไซต์มีการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล เช่น webboard, blog หรือไม่ แล้วจะใช้ภาษา Server Side Script ตัวไหนในการเขียนโปรแกรม เช่น Perl, ASP, ASP.NET,PHP, JSP Web Hosting ส่วนใหญ่จะสนับสนุน PHP อยู่แล้ว (Linux Server) แต่อาจจะไม่สนับสนุน ASP, ASP.NET และค่าเช่า Host ที่สนับสนุน ASP (Windows Server) จะสูงกว่า และให้ดูด้วยว่าจำเป็นต้องใช้ฐานข้อมูลกี่ฐาน เพราะ Web hosting หลายเจ้าจะจำกัดจำนวนฐานข้อมูลที่ใช้ได้เอาไว้
4. คิดว่าจะมีผู้ชมเข้ามาก เข้าบ่อย หรือเปล่า เผื่อให้ Bandwidth เยอะๆ ไว้ก่อนก็ดีค่ะ
5. ต้องการใช้บริการ E-mail หรือไม่ และต้องการใช้ประมาณกี่ account
เมื่อทราบแล้วว่าเราต้องการเช่า
Web Hosting ในประเทศหรือต่างประเทศ, พื้นที่ขนาดเท่าไร, ปริมาณการรับส่งข้อมูลมากหรือน้อย,
จำนวนฐานข้อมูลที่ต้องการใช้, ต้องการให้สนับสนุนภาษา
Script ตัวไหนบ้าง, จำนวน E-mail
ที่ต้องการใช้ รวมถึงอยากให้มีระบบ Support
อื่นๆ เป็นพิเศษหรือเปล่าแล้ว ก็มาเลือกผู้ให้บริการ Web
Hosting ที่สามารถตอบสนองความต้องการข้างต้นของเราได้ และก็พิจารณาปัจจัยอื่นๆ อีก ได้แก่
1. บริษัทของผู้ให้บริการมีความมั่นคง จดทะเบียนถูกต้อง ดำเนินงานธุรกิจมาสักระยะแล้ว มีที่อยู่ Office และเบอร์โทรศัพท์ ที่ติดต่อได้จริง
2. ราคาเหมาะสม ถ้าหากเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการเจ้าอื่นๆ แล้วราคาถูกมาก เป็นไปได้ว่าผู้ให้บริการรายนั้นอาจใส่จำนวนเว็บไซต์ต่อเครื่อง Server มากเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้เครื่อง Server ทำงานไม่เสถียรได้ ถ้าเป็นไปได้ควรสอบถามจากผู้ที่เคยใช้ หรือกำลังใช้บริการกับ Web Hosing เจ้านั้นอยู่ก่อน
3. ใช้เครื่อง Server ที่มีประสิทธิภาพมาเป็น Host ให้ตรวจสอบจาก สเป็ค CPU, RAM, Hardisk ว่าเป็นอย่างไร
4. จำนวนเว็บไซต์ที่ใส่ ต่อเครื่อง Server ที่ให้บริการ มีความเหมาะสม
5. ระบบ Network มีประสิทธิภาพสูง Web Hosting ที่ดีต้องมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้รวดเร็ว หาก Hosting ตั้งอยู่ที่ ISP ที่มีการเชื่อมท่อต่อกับอินเตอร์เน็ตขนาดใหญ่ จะช่วยทำให้การรับ-ส่งข้อมูลจากเว็บไซต์ของเราไปยังกลุ่มผู้ชมเป็นไปอย่าง รวดเร็ว
6. มีระบบ Backup ข้อมูล ถ้าให้ดีควร Backup ให้เราทุกวัน เพื่อป้องกันความผิดพลาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูล เช่น เผลอลบ ไฟล์ติดไวรัส แล้วเราไม่มี Backup ข้อมูลเก็บไว้ในเครื่อง ก็สามารถที่จะเรียกขอข้อมูลจากผู้ให้บริการได้
7. ปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่งได้ (Bandwidth) ผู้ให้บริการบางเจ้ามีการจำกัดปริมาณข้อมูลที่รับส่งเข้าออกจากเว็บไซต์ แต่บางเจ้าก็ให้ใช้ได้อย่างไม่ได้จำกัด (Unlimited Bandwidth) ซึ่งหากเราใช้เกินที่กำหนดจะต้องจ่ายค่าบริการเพิ่ม ถ้าข้อมูลในเว็บเป็นรูปภาพขนาดใหญ่ หรือไฟล์เพลง มีการให้บริการดาวน์โหลด หรือมีผู้ชมจำนวนมากที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บบ่อยๆ เว็บไซต์ของเราก็จะกิน Bandwidth มาก
8. มีการให้บริการหลังการขายที่ดี ทีมงานมีความเชี่ยวชาญในการช่วย support แก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถติดต่อได้หลายทาง
9. มีระบบป้องกันไวรัสที่ดี
10. มี Feature ต่างๆ ครบถ้วน เมื่อเราสมัครใช้บริการของ Web hosting แล้ว จะมีระบบจัดการเว็บไซต์ให้กับเรา (อาจจะเป็น cPanel หรือ DirectAdmin หรือตัวอื่นๆ) สำหรับใช้จัดการเว็บไซต์เรื่องต่างๆ เช่น
- จัดการฐานข้อมูล
- จัดการ File ผ่านหน้าเว็บ ให้เรา upload file ผ่านเว็บได้โดยไม่ต้องใช้โปรแกรม FTP
- จัดการ Email Account
- จัดการ Security
- รายงานข้อมูลการใช้งานพื้นที่
- รายงานข้อมูลการใช้อีเมล์
- สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
- บันทึก Log ผู้เข้าชมเว็บไซต์
- มีโปรแกรม Script ให้ติดตั้ง Webboard, CMS ต่างๆ ได้อัตโนมัติ
- และอาจมี Feature เสริม เช่น Web Template, โปรแกรมเปิดร้านขายของ, การ Submit Search Engine เป็นต้น
1. บริษัทของผู้ให้บริการมีความมั่นคง จดทะเบียนถูกต้อง ดำเนินงานธุรกิจมาสักระยะแล้ว มีที่อยู่ Office และเบอร์โทรศัพท์ ที่ติดต่อได้จริง
2. ราคาเหมาะสม ถ้าหากเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการเจ้าอื่นๆ แล้วราคาถูกมาก เป็นไปได้ว่าผู้ให้บริการรายนั้นอาจใส่จำนวนเว็บไซต์ต่อเครื่อง Server มากเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้เครื่อง Server ทำงานไม่เสถียรได้ ถ้าเป็นไปได้ควรสอบถามจากผู้ที่เคยใช้ หรือกำลังใช้บริการกับ Web Hosing เจ้านั้นอยู่ก่อน
3. ใช้เครื่อง Server ที่มีประสิทธิภาพมาเป็น Host ให้ตรวจสอบจาก สเป็ค CPU, RAM, Hardisk ว่าเป็นอย่างไร
4. จำนวนเว็บไซต์ที่ใส่ ต่อเครื่อง Server ที่ให้บริการ มีความเหมาะสม
5. ระบบ Network มีประสิทธิภาพสูง Web Hosting ที่ดีต้องมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้รวดเร็ว หาก Hosting ตั้งอยู่ที่ ISP ที่มีการเชื่อมท่อต่อกับอินเตอร์เน็ตขนาดใหญ่ จะช่วยทำให้การรับ-ส่งข้อมูลจากเว็บไซต์ของเราไปยังกลุ่มผู้ชมเป็นไปอย่าง รวดเร็ว
6. มีระบบ Backup ข้อมูล ถ้าให้ดีควร Backup ให้เราทุกวัน เพื่อป้องกันความผิดพลาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูล เช่น เผลอลบ ไฟล์ติดไวรัส แล้วเราไม่มี Backup ข้อมูลเก็บไว้ในเครื่อง ก็สามารถที่จะเรียกขอข้อมูลจากผู้ให้บริการได้
7. ปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่งได้ (Bandwidth) ผู้ให้บริการบางเจ้ามีการจำกัดปริมาณข้อมูลที่รับส่งเข้าออกจากเว็บไซต์ แต่บางเจ้าก็ให้ใช้ได้อย่างไม่ได้จำกัด (Unlimited Bandwidth) ซึ่งหากเราใช้เกินที่กำหนดจะต้องจ่ายค่าบริการเพิ่ม ถ้าข้อมูลในเว็บเป็นรูปภาพขนาดใหญ่ หรือไฟล์เพลง มีการให้บริการดาวน์โหลด หรือมีผู้ชมจำนวนมากที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บบ่อยๆ เว็บไซต์ของเราก็จะกิน Bandwidth มาก
8. มีการให้บริการหลังการขายที่ดี ทีมงานมีความเชี่ยวชาญในการช่วย support แก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถติดต่อได้หลายทาง
9. มีระบบป้องกันไวรัสที่ดี
10. มี Feature ต่างๆ ครบถ้วน เมื่อเราสมัครใช้บริการของ Web hosting แล้ว จะมีระบบจัดการเว็บไซต์ให้กับเรา (อาจจะเป็น cPanel หรือ DirectAdmin หรือตัวอื่นๆ) สำหรับใช้จัดการเว็บไซต์เรื่องต่างๆ เช่น
- จัดการฐานข้อมูล
- จัดการ File ผ่านหน้าเว็บ ให้เรา upload file ผ่านเว็บได้โดยไม่ต้องใช้โปรแกรม FTP
- จัดการ Email Account
- จัดการ Security
- รายงานข้อมูลการใช้งานพื้นที่
- รายงานข้อมูลการใช้อีเมล์
- สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
- บันทึก Log ผู้เข้าชมเว็บไซต์
- มีโปรแกรม Script ให้ติดตั้ง Webboard, CMS ต่างๆ ได้อัตโนมัติ
- และอาจมี Feature เสริม เช่น Web Template, โปรแกรมเปิดร้านขายของ, การ Submit Search Engine เป็นต้น
ค่าบริการ
Web Hosting จะมากน้อยขึ้นกับขนาดพื้นที่ที่เช่า และ Feature
ต่างๆ ที่มีให้ ลองเปรียบเทียบคุณภาพ และราคาหลายๆ ที่ดูก่อนค่ะ
และบางเจ้าถ้าจ่ายเป็นรายปี จะถูกกว่าจ่ายทีละเดือนรวมกัน 12 เดือน อยากรู้ว่ามีผู้บริการรายใดบ้าง แค่ลอง Search ใน google ว่า web hosting
จะใช้บริการ web hosting เจ้าไหน ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อน ถ้าผู้ให้บริการมีตัวอย่างลูกค้าเว็บไซต์รายใหญ่ๆ ที่ใช้บริการอยู่ หรือมีคน confirm ว่าดี ก็จะช่วยรับประกันคุณภาพได้ระดับหนึ่งค่ะ
จะใช้บริการ web hosting เจ้าไหน ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อน ถ้าผู้ให้บริการมีตัวอย่างลูกค้าเว็บไซต์รายใหญ่ๆ ที่ใช้บริการอยู่ หรือมีคน confirm ว่าดี ก็จะช่วยรับประกันคุณภาพได้ระดับหนึ่งค่ะ
2.3 การจด Domain name
Domain name ก็คือชื่อเว็บไซต์ ที่ประกอบด้วยชื่อ และนามสกุล เช่น enjoyday.net, google.com เป็นต้น เราสามารถที่จะจด Domain name เป็นของตนเองได้ โดยต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น
Sub Domain คือ เว็บย่อยของเว็บไซต์ของเราอีกที โดยปกติถ้ามี Domain หลักแล้ว เช่น www.enjoyday.net และเราทำธุรกิจหลายประเภท หรือว่ามีเนื้อหาหลายประเภท เราสามารถทำ Sub Domain เพิ่มเป็น www.blog.enjoyday.net, www.webtutorial.enjoyday.net แยกตามประเภทเนื้อหาได้ค่ะ
อักระที่ใช้ได้ใน Domain name
1. สามารถใช้ตัวอักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ ขีดคั่น – ได้
2. มีความยาวไม่เกิน 63 ตัวอักษร
3. ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
4. ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข
5. ไม่ขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยเครื่องหมาย – และต้องไม่มี ช่องว่าง
ประเภทของ Domain name
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. domain 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น enjoyday.net
2. domain 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น kmitl.ac.th
.
การจดทะเบียนโดเมน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ จะได้นามสกุล เป็น
.co.th ใช้กับ บริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป ต้องจดเป็นชื่อ หรือชื่อย่อของบริษัท ซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์ การจดทะเบียนต้องใช้สำเนาใบทะเบียนการค้า หรือสำเนาใบรับรอง หรือสำเนาใบ ภ.พ. 20 เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
.or.th ใช้กับ ส่วนราชการ ต้องจดเป็นชื่อ หรือชื่อย่อขององค์กร ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน
.ac.th ใช้กับ สถานศึกษา ต้องจดเป็นชื่อ หรือชื่อย่อของสถานศึกษา ต้องใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐานการจดทะเบียน
.in.th ใช้กับ บุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ต้องใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
.go.th ใช้กับ ส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่
.net.th ใช้กับ บริษัทที่เกี่ยวกับระบบ Network หรือ ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) ในประเทศไทย
2. การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ จะได้นามสกุลเป็น
.com ใช้กับ บริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้ง website ส่วนตัว
.net ใช้กับ องค์กรเกี่ยวกับระบบ network หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
.org ใช้กับ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร
.edu ใช้กับ สถาบันการศึกษา
.biz ใช้กับ ธุรกิจโดยทั่วไป
.info ใช้กับ เว็บไซต์ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ
.ws .to .tv .cc .st เป็นนามสกุลของ domain name บางประเทศ แต่นำมาเปิดให้คนทั่วไปจะทะเบียนได้ เช่น .tv นิยมจดสำหรับ website ของสื่อโฆษณาต่างๆ โดยเฉพาะสื่อทางด้านภาพและเสียง
จะเห็นว่า ทุกวันนี้ website ต่างๆ ไม่ได้เคร่งครัดใช้นามสกุลตามประเภทการใช้งานกันนัก นามสกุล ที่เป็นที่นิยมคือ .com, .net และ .org เราสามารถจด Domain name โดยแจ้งกับผู้ให้บริการ Web Hosting ของเรา ให้ทำการจดให้ค่ะ
Domain Name ที่ดี
1. สั้น, จำง่าย, พิมพ์ง่าย เช่น yahoo.com, sanook.com, hi5.com
2. ชื่อเป็น keyword ของเนื้อหาในเว็บไซต์ แค่เห็นชื่อเว็บก็รู้ว่าเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร เช่น tourthai.com, chulabook.com, 3. hotelsthailand.com แบบนี้จะมีผลดีทาง SEO ทำให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาในเว็บ Search Engine ได้ง่ายค่ะ
4. ไม่ควรใช้ขีดคั่น เพราะทำให้พิมพ์ยุ่งยากขึ้น และ website ส่วนใหญ่ไม่ใช้กัน ทำให้นานๆ ทีเข้าอาจจำไม่ได้ว่าต้องมี ขีด ด้วย
5. อ่านง่าย เพื่อให้ง่ายต่อการบอกต่อ เช่น 100ydesign.com
ถ้าไม่มีชื่ออยู่ในใจแล้ว อาจใช้เวลาคิดนานพอสมควรเลยค่ะ ต้องคิดให้ดีนะคะ เพราะต้องเสียค่าจด domain name เป็นรายปีและพอคนรู้จักเว็บของเราแล้ว ถึงอยากเปลี่ยนชื่อใหม่ก็ไม่กล้าเปลี่ยนแล้วล่ะค่ะ
เมื่อคิดชื่อได้แล้ว ให้ตรวจชื่อเว็บไซต์ (domain name) ก่อนว่าไม่ซ้ำกับคนอื่นลองตรวจที่นี่ได้เลยค่ะ
3. ออกแบบเว็บไซต์
Domain name ก็คือชื่อเว็บไซต์ ที่ประกอบด้วยชื่อ และนามสกุล เช่น enjoyday.net, google.com เป็นต้น เราสามารถที่จะจด Domain name เป็นของตนเองได้ โดยต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น
Sub Domain คือ เว็บย่อยของเว็บไซต์ของเราอีกที โดยปกติถ้ามี Domain หลักแล้ว เช่น www.enjoyday.net และเราทำธุรกิจหลายประเภท หรือว่ามีเนื้อหาหลายประเภท เราสามารถทำ Sub Domain เพิ่มเป็น www.blog.enjoyday.net, www.webtutorial.enjoyday.net แยกตามประเภทเนื้อหาได้ค่ะ
อักระที่ใช้ได้ใน Domain name
1. สามารถใช้ตัวอักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ ขีดคั่น – ได้
2. มีความยาวไม่เกิน 63 ตัวอักษร
3. ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
4. ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข
5. ไม่ขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยเครื่องหมาย – และต้องไม่มี ช่องว่าง
ประเภทของ Domain name
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. domain 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น enjoyday.net
2. domain 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น kmitl.ac.th
.
การจดทะเบียนโดเมน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ จะได้นามสกุล เป็น
.co.th ใช้กับ บริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป ต้องจดเป็นชื่อ หรือชื่อย่อของบริษัท ซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์ การจดทะเบียนต้องใช้สำเนาใบทะเบียนการค้า หรือสำเนาใบรับรอง หรือสำเนาใบ ภ.พ. 20 เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
.or.th ใช้กับ ส่วนราชการ ต้องจดเป็นชื่อ หรือชื่อย่อขององค์กร ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน
.ac.th ใช้กับ สถานศึกษา ต้องจดเป็นชื่อ หรือชื่อย่อของสถานศึกษา ต้องใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐานการจดทะเบียน
.in.th ใช้กับ บุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ต้องใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
.go.th ใช้กับ ส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่
.net.th ใช้กับ บริษัทที่เกี่ยวกับระบบ Network หรือ ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) ในประเทศไทย
2. การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ จะได้นามสกุลเป็น
.com ใช้กับ บริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้ง website ส่วนตัว
.net ใช้กับ องค์กรเกี่ยวกับระบบ network หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
.org ใช้กับ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร
.edu ใช้กับ สถาบันการศึกษา
.biz ใช้กับ ธุรกิจโดยทั่วไป
.info ใช้กับ เว็บไซต์ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ
.ws .to .tv .cc .st เป็นนามสกุลของ domain name บางประเทศ แต่นำมาเปิดให้คนทั่วไปจะทะเบียนได้ เช่น .tv นิยมจดสำหรับ website ของสื่อโฆษณาต่างๆ โดยเฉพาะสื่อทางด้านภาพและเสียง
จะเห็นว่า ทุกวันนี้ website ต่างๆ ไม่ได้เคร่งครัดใช้นามสกุลตามประเภทการใช้งานกันนัก นามสกุล ที่เป็นที่นิยมคือ .com, .net และ .org เราสามารถจด Domain name โดยแจ้งกับผู้ให้บริการ Web Hosting ของเรา ให้ทำการจดให้ค่ะ
Domain Name ที่ดี
1. สั้น, จำง่าย, พิมพ์ง่าย เช่น yahoo.com, sanook.com, hi5.com
2. ชื่อเป็น keyword ของเนื้อหาในเว็บไซต์ แค่เห็นชื่อเว็บก็รู้ว่าเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร เช่น tourthai.com, chulabook.com, 3. hotelsthailand.com แบบนี้จะมีผลดีทาง SEO ทำให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาในเว็บ Search Engine ได้ง่ายค่ะ
4. ไม่ควรใช้ขีดคั่น เพราะทำให้พิมพ์ยุ่งยากขึ้น และ website ส่วนใหญ่ไม่ใช้กัน ทำให้นานๆ ทีเข้าอาจจำไม่ได้ว่าต้องมี ขีด ด้วย
5. อ่านง่าย เพื่อให้ง่ายต่อการบอกต่อ เช่น 100ydesign.com
ถ้าไม่มีชื่ออยู่ในใจแล้ว อาจใช้เวลาคิดนานพอสมควรเลยค่ะ ต้องคิดให้ดีนะคะ เพราะต้องเสียค่าจด domain name เป็นรายปีและพอคนรู้จักเว็บของเราแล้ว ถึงอยากเปลี่ยนชื่อใหม่ก็ไม่กล้าเปลี่ยนแล้วล่ะค่ะ
เมื่อคิดชื่อได้แล้ว ให้ตรวจชื่อเว็บไซต์ (domain name) ก่อนว่าไม่ซ้ำกับคนอื่นลองตรวจที่นี่ได้เลยค่ะ
3. ออกแบบเว็บไซต์
ปัจจุบันมีเว็บไซต์อยู่มากมาย
และก็มีเว็บไซต์ใหม่เกิดขึ้นทุกวันในอินเตอร์เน็ต นั่นทำให้เรามีทางเลือกมากขึ้นที่จะเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์ใดก็ได้
ถ้าเว็บไซต์ไหนใช้งานยาก ข้อมูลมากแต่ก็หาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ
ใช้เวลาโหลดหน้าเว็บนานเกินไป เราก็คงไม่อดทนต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ปิดมันไปซะ
แล้วก็เปลี่ยนไปดูเว็บไซต์อื่นๆ แทน
ปัญหาเหล่านี้มักเกิดจาก
การขาดการออกแบบเว็บไซต์ที่ดีนั่นเองค่ะเว็บไซต์ที่ได้รับการออกแบบที่ดี
ดูเรียบง่าย สวยงาม ข้อมูลจัดเป็นหมวดหมู่ ใช้งานง่าย
ย่อมได้รับความสนใจจากผู้ใช้มากกว่า
การออกแบบเว็บไซต์จึงเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในการสร้างเว็บไซต์
เพื่อให้เกิดความประทับใจแก่ผู้ใช้ และทำให้อยากกลับเข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ของเราอีกในครั้งต่อไป
ถ้าเราคิดไม่ออกว่าจะออกแบบเว็บไซต์อย่างไรดี
ให้ลองศึกษาจากเว็บไซต์อื่นๆ เป็นแนวทาง
หรือว่าจะประยุกต์จากรูปแบบในสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น นิตยสาร หนังสือ แผ่นพับ
ที่มีรูปแบบน่าสนใจ
การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure Design)
การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure Design)
คือ
การจัดหมวดหมู่ และลำดับของเนื้อหา แล้วจัดทำเป็นแผนผังโครงสร้างเว็บไซต์
ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่ามีเนื้อหาอะไรบ้างภายในเว็บไซต์
และแต่ละหน้าเว็บเพจนั้นมีการเชื่อมโยงกันอย่างไร
โครงสร้างเว็บไซต์ที่ดีจะช่วยให้ผู้ชมไม่สับสนและค้นหาข้อมูลที่ต้องการ
ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ควรเป็นลำดับที่ลึกหลายชั้นเกินไป เพราะผู้ใช้จะเบื่อเสียก่อน
กว่าจะค้นหาเจอหน้าที่ต้องการ
อันนี้เจอกับตัว เช่น เว็บไซต์ดาวน์โหลดบางแห่ง คลิกแล้วคลิกอีก ยังหาไม่เจอลิงค์ดาวน์โหลด หาเว็บใหม่เลยค่ะ
ตัวอย่าง โครงสร้างเว็บไซต์ นำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์และข้อมูลต่างๆ ของบริษัท
ระบบ Navigation
เป็นระบบนำทางที่จะนำผู้ชมไปยังหน้าต่างๆ ของเว็บไซต์ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และรู้ว่ากำลังอยู่ตรงไหนของเว็บไซต์
นอกจากนี้ยังใช้กำหนดบทบาทของผู้ใช้ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ โดยผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะสามารถเข้าถึงหน้าเว็บเพจได้อย่างมีขอบเขต ตามสิทธิที่วางไว้เท่านั้น
- เครื่องนำทาง
1. เมนูหลัก เป็นเมนูสำหรับลิงค์ไปยังหน้าหัวข้อหลักของเว็บไซต์ มักอยู่ในรูปของลิงค์ที่เป็นข้อความหรือภาพกราฟฟิก และมักถูกจัดวางอยู่ด้านบนในเว็บเพจทุกหน้า
2. เมนูเฉพาะกลุ่ม เป็นเมนูที่เชื่อโยงเว็บเพจปัจจุบันกับเว็บเพจอื่นภายในกลุ่มย่อยที่มี เนื้อหาเกี่ยวเนื่องกัน มักอยู่ในรูปแบบของลิงค์ข้อความหรือกราฟฟิกเช่นกัน
3. เครื่องมือเสริม สำหรับช่วยเสริมการทำงานของเมนู มีได้หลายรูปแบบ เช่น ช่องค้นหาข้อมูล (Search Box) , เมนูแบบดร็อปดาวน์ (Drop-Down menu) , แผนผังเว็บไซต์ (Site Map), อิมเมจแมพ (Image Map)
- เครื่องมือบอกตำแหน่ง (Location Indicator)
เป็นสิ่งที่ใช้แสดงว่า ขณะนี้ผู้ชมกำลังอยู่ในตำแหน่งใดในเว็บไซต์ เครื่องบอกตำแหน่งมีได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความภาพกราฟฟิกที่แสดงชื่อเว็บเพจ หรือข้อความบ่งชี้ และบ่อยครั้งที่เครื่องมือบอกตำแหน่งถูกรวมไว้กับตัวเมนูเลย
ส่วนประกอบของหน้าเว็บเพจ
อันนี้เจอกับตัว เช่น เว็บไซต์ดาวน์โหลดบางแห่ง คลิกแล้วคลิกอีก ยังหาไม่เจอลิงค์ดาวน์โหลด หาเว็บใหม่เลยค่ะ
ตัวอย่าง โครงสร้างเว็บไซต์ นำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์และข้อมูลต่างๆ ของบริษัท
ระบบ Navigation
เป็นระบบนำทางที่จะนำผู้ชมไปยังหน้าต่างๆ ของเว็บไซต์ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และรู้ว่ากำลังอยู่ตรงไหนของเว็บไซต์
นอกจากนี้ยังใช้กำหนดบทบาทของผู้ใช้ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ โดยผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะสามารถเข้าถึงหน้าเว็บเพจได้อย่างมีขอบเขต ตามสิทธิที่วางไว้เท่านั้น
- เครื่องนำทาง
1. เมนูหลัก เป็นเมนูสำหรับลิงค์ไปยังหน้าหัวข้อหลักของเว็บไซต์ มักอยู่ในรูปของลิงค์ที่เป็นข้อความหรือภาพกราฟฟิก และมักถูกจัดวางอยู่ด้านบนในเว็บเพจทุกหน้า
2. เมนูเฉพาะกลุ่ม เป็นเมนูที่เชื่อโยงเว็บเพจปัจจุบันกับเว็บเพจอื่นภายในกลุ่มย่อยที่มี เนื้อหาเกี่ยวเนื่องกัน มักอยู่ในรูปแบบของลิงค์ข้อความหรือกราฟฟิกเช่นกัน
3. เครื่องมือเสริม สำหรับช่วยเสริมการทำงานของเมนู มีได้หลายรูปแบบ เช่น ช่องค้นหาข้อมูล (Search Box) , เมนูแบบดร็อปดาวน์ (Drop-Down menu) , แผนผังเว็บไซต์ (Site Map), อิมเมจแมพ (Image Map)
- เครื่องมือบอกตำแหน่ง (Location Indicator)
เป็นสิ่งที่ใช้แสดงว่า ขณะนี้ผู้ชมกำลังอยู่ในตำแหน่งใดในเว็บไซต์ เครื่องบอกตำแหน่งมีได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความภาพกราฟฟิกที่แสดงชื่อเว็บเพจ หรือข้อความบ่งชี้ และบ่อยครั้งที่เครื่องมือบอกตำแหน่งถูกรวมไว้กับตัวเมนูเลย
ส่วนประกอบของหน้าเว็บเพจ
แบ่งออกเป็น
3 ส่วนหลักๆ คือ
1. ส่วนหัวของหน้า (Page Header)
เป็นส่วนที่อยู่ตอนบนสุดของหน้า และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของหน้า เพราะเป็นส่วนที่ดึงดูดผู้ชมให้ติดตามเนื้อหาภายในเว็บไซต์ มักใส่ภาพกราฟฟิกเพื่อสร้างความประทับใจ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย
- โลโก้ (Logo) เป็นสิ่งที่เว็บไซต์ควรมี เป็นตัวแทนของเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี และยังทำให้เว็บน่าเชื่อถือ
- ชื่อเว็บไซต์
- เมนูหลักหรือลิงค์ (Navigation Bar) เป็นจุดเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาของเว็บไซต์
2.ส่วนของเนื้อหา (Page Body)
เป็นส่วนที่อยู่ตอนกลางของหน้า ใช้แสดงข้อมูลเนื้อหาของเว็บไซต์ ซึ่งประกอบด้วยข้อความ, ตารางข้อมูล ภาพกราฟิก วีดีโอ และอื่นๆ และอาจมีเมนูหลัก หรือเมนูเฉพาะกลุ่มวางอยู่ในส่วนนี้ด้วย
สำหรับส่วนเนื้อหาควรแสดงใจความสำคัญที่เป็นหัวเรื่องไว้บนสุด ข้อมูลมีความกระชับ ใช้รูปแบบตัวอักษรที่อ่านง่าย และจัด Layout ให้เหมาะสมและเป็นระเบียบ
3. ส่วนท้ายของหน้า (Page Footer)
เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างสุดของหน้า จะมีหรือไม่มีก็ได้ มักวางระบบนำทางที่เป็นลิงค์ข้อความง่าย ๆ และอาจแสดงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ เช่น เจ้าของเว็บไซต์ เป็นต้น
1. ส่วนหัวของหน้า (Page Header)
เป็นส่วนที่อยู่ตอนบนสุดของหน้า และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของหน้า เพราะเป็นส่วนที่ดึงดูดผู้ชมให้ติดตามเนื้อหาภายในเว็บไซต์ มักใส่ภาพกราฟฟิกเพื่อสร้างความประทับใจ ส่วนใหญ่ประกอบด้วย
- โลโก้ (Logo) เป็นสิ่งที่เว็บไซต์ควรมี เป็นตัวแทนของเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี และยังทำให้เว็บน่าเชื่อถือ
- ชื่อเว็บไซต์
- เมนูหลักหรือลิงค์ (Navigation Bar) เป็นจุดเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาของเว็บไซต์
2.ส่วนของเนื้อหา (Page Body)
เป็นส่วนที่อยู่ตอนกลางของหน้า ใช้แสดงข้อมูลเนื้อหาของเว็บไซต์ ซึ่งประกอบด้วยข้อความ, ตารางข้อมูล ภาพกราฟิก วีดีโอ และอื่นๆ และอาจมีเมนูหลัก หรือเมนูเฉพาะกลุ่มวางอยู่ในส่วนนี้ด้วย
สำหรับส่วนเนื้อหาควรแสดงใจความสำคัญที่เป็นหัวเรื่องไว้บนสุด ข้อมูลมีความกระชับ ใช้รูปแบบตัวอักษรที่อ่านง่าย และจัด Layout ให้เหมาะสมและเป็นระเบียบ
3. ส่วนท้ายของหน้า (Page Footer)
เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างสุดของหน้า จะมีหรือไม่มีก็ได้ มักวางระบบนำทางที่เป็นลิงค์ข้อความง่าย ๆ และอาจแสดงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ เช่น เจ้าของเว็บไซต์ เป็นต้น
ขอบคุณ http://www.100ydesign.com/column.php?id=000119
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น